ครั้งที่ 3
บันทึก สัปดาห์ที่ 4
วิชา : การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี : 26 มกราคม พ.ศ.2558
กลุ่มเรียน : 104 (วันจันทร์ : บ่าย)
เวลาเข้าเรียน 12:20-15:50 ห้องเรียน : 435
บันทึก สัปดาห์ที่ 4
วิชา : การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี : 26 มกราคม พ.ศ.2558
กลุ่มเรียน : 104 (วันจันทร์ : บ่าย)
เวลาเข้าเรียน 12:20-15:50 ห้องเรียน : 435
ชั่วโมงที่ 4 ของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ได้เรียนในเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม เริ่มการสอนด้วยการวาดรูป
อาจารย์เปิดรูปดอกบัวแล้วให้นักศึกษาวาดรูปนี้ให้เหมือนที่สุด พร้อมเขียนบรรยายว่าเห็นอะไรในภาพ
รูปดอกบัว
รูปวาดของฉัน
หลังจากนั้นอาจารย์ก็เข้าสู่บทเรียนในวันนี้
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
1.ครูไม่ควรวินิจฉัย
2.ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
3.ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
ครูไม่ควรวินิจฉัย คือ ครูไม่ควรตัดสินใจจากการดูอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
ที่เด็กได้แสดงออกมา ว่าเด็กแสดงอาการแบบนี้แล้วเด็กต้องเป็นเด็กพิเศษ
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก คือ ครูไม่ควรตั้งชื่อสมมุติหรือฉายาให้เด็ก
การที่ครูตั้งชื่อสมมุติหรือฉายาแล้วนำไปเรียกเด็กคนนั้น
เพื่อนๆเห็นครูเรียกเพื่อนๆก็จะเรียกตามครู ซึ่งจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีต่อตัวเด็กที่ถูกตั้งฉายา
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ คือ ครูไม่ควรนำเรื่องที่เด็กแสดงอาการบางอย่างหรือสิ่งที่เด็กไม่สามารถทำได้ไปเล่าให้พ่อแม่ของเด็กพิเศษรับรู้
เพราะว่าพ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักจะทราบอยู่แล้วว่าลูกของเขามีปัญหาด้านอะไรบ้าง ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
เพราะฉะนั้นครูควรจะพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวกมากกว่าด้านลบ ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง
เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้ ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
ครูทำอะไรบ้าง
•
ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
•
ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
(ครูต้องมีวิธีในการพูดที่ดี)
•
สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
(มีการจดบันทึก) ครูประจำชั้นจะเป็นคนสังเกตเด็กแบบระบบได้ดีที่สุด
เพราะว่าครูอยู่ใกล้ชิดกับเด็กตลอด ครูได้เห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ
ช่วงเวลายาวนานกว่า ซึ่งต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก
มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
•
จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
•
ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
•
ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
•
พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
1.การนับอย่างง่ายๆ
2.การบันทึกต่อเนื่อง
3.การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การนับอย่างง่ายๆ คือ การที่ครูนับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม เกิดกี่ครั้งในแต่ละวัน เกิดกี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
และระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรมของเด็ก
การบันทึกต่อเนื่อง คือ เป็นการบันทึกที่ดีที่สุด เป็นการบันทึกที่ให้รายละเอียดได้มากที่สุด เพราะว่าครูจะเขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่งหรือช่วงกิจกรรมหนึ่งซึ่งจะเขียนบันทึกทุกสิ่งทุกอย่างทุกการกระทำของเด็กลงไปแม้กระทั้งคำพูดของเด็ก
เวลาบันทึกครูไม่ควรใส่ความรู้สึกของตนเองลงไปด้วย
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง คือ เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง บันทึกลงบัตรเล็กๆ
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
•
ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง
มากกว่าชนิดของความบกพร่อง
•
พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน
ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ เช่น ดูดนิ้ว กัดเล็บ
การตัดสินใจ คือ ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง พฤติกรรมบางอย่างของเด็กที่เกิดขึ้นนั้น
ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
หลังจากเรียนเนื้อหาจบแล้วอาจารย์ก็สอนร้องเพลงต่อ
เพลงที่อาจารย์สอน
หลังจากร้องเพลงเสร็จอาจารย์ก็ให้นำรูปดอกบัวที่นักศึกษาทุกคนวาดมาเฉลยในการเขียนบรรยายจากสิ่งที่เห็น
ซึ่งอาจารย์ได้สอนว่าการเขียนบรรยายรูปดอกบัวก็เหมือนการบันทึกต่อเนื่องนั้นเอง
เช่น ดอกบัวมีกลีบ 14 กลีบ มีสีม่วง สีชมพู และสีขาว มีเกสรสีเหลือง มีจุดตรงกลาง
มีก้านสีเขียว อยู่ใต้น้ำ เป็นต้น ซึ่งเป็นการเขียนจากสิ่งที่เห็นไม่มีความรู้สึกของตนเองลงไปด้วย
หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้ตอบคำถามหลังเรียน