ครั้งที่ 2
บันทึก สัปดาห์ที่ 3
วิชา : การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี : 19 มกราคม พ.ศ.2558
กลุ่มเรียน : 104 (วันจันทร์ : บ่าย)
เวลาเข้าเรียน 12:20-15:50 ห้องเรียน : 435
บันทึก สัปดาห์ที่ 3
วิชา : การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี : 19 มกราคม พ.ศ.2558
กลุ่มเรียน : 104 (วันจันทร์ : บ่าย)
เวลาเข้าเรียน 12:20-15:50 ห้องเรียน : 435
ชั่วโมงที่ 3
ของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย ได้เรียนในเรื่อง รูปแบบการจัดการศึกษา
การศึกษาแบบเรียนร่วม การศึกษาแบบเรียนรวม ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ก่อนจะเริ่มเรียนเนื้อหา อาจารย์ได้ให้นักศึกษาร้องเพลงของสัปดาห์ที่แล้วเพื่อเป็นการทบทวน
จากนั้นก็เริ่มกิจกรรมการเรียนการสอน
และท้ายชั่วโมงอาจารย์ได้ให้นักศึกษาตอบคำถามหลังจากที่เรียนเสร็จ
เนื้อหาที่เรียนในวันนี้
- รูปแบบการจัดการศึกษา
-
การศึกษาปกติทั่วไป (Regular
Education)
-
การศึกษาพิเศษ (Special
Education)
-
การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-
การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ คือ เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
- ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming) คือ การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปเรียนในโรงเรียนปกติ เด็กพิเศษจะอยู่ในความควบคุมของศูนย์ที่ดูแล เช่น ศูนย์การศึกษาพิเศษ โดยศูนย์ที่ดูแลเด็กจะทำหน้าที่ประสานงานกับโรงเรียนปกติเพื่อขอให้เด็กพิเศษเข้าไปเรียน ก่อนที่จะเข้าไปเรียนต้องเช็คว่าเด็กพิเศษคนนี้สามารถเรียนได้บางเวลาหรือเต็มเวลา โดยจะมีรายละเอียดดังนี้
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
-
การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา เช่น เรียนเฉพาะวิชาดนตรี พละ ศิลปะ เป็นต้น
ต้องเลือกวิชาให้ตรงกับเด็กพิเศษ
-
เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
-
เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
-
การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
-
เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
-
มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
-
เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์
เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน
มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
- ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) คือ การศึกษาสำหรับทุกคน เด็กพิเศษสามารถสมัครเข้าเรียนได้เหมือนเด็กปกติทุกประการ โดยที่ไม่มีศูนย์การศึกษาพิเศษดูแลอยู่ เด็กพิเศษสามารถเข้าเรียนรวมได้ตั้งแต่แรกเริ่มเข้ารับการศึกษา จนถึงจบการศึกษาเหมือนเด็กปกติทั่วไป
การศึกษาแบบเรียนรวมจะส่งเสริมให้เด็กพิเศษมีทักษะทางสังคม
ทางภาษา ได้ดีกว่าการศึกษากับเด็กพิเศษด้วยกันเอง
การศึกษาแบบเรียนร่วมนั้นมีมาก่อนการศึกษาแบบเรียนรวม
Wilson (2007) ได้กล่าวไว้ว่า
-
การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
-
การสอนที่ดี
เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
-
กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching)
ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
-
เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง
- ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
-
ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
-
“สอนได้” (สอนง่าย)
-
เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด เช่น
กิจกรรมที่ยากเกินไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น