วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 3

ครั้งที่ 3
บันทึก สัปดาห์ที่ 4
       วิชา : การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี : 26 มกราคม พ.ศ.2558
       กลุ่มเรียน : 104 (วันจันทร์ : บ่าย)
       เวลาเข้าเรียน 12:20-15:50 ห้องเรียน : 435

ชั่วโมงที่ 4 ของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย ได้เรียนในเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม เริ่มการสอนด้วยการวาดรูป อาจารย์เปิดรูปดอกบัวแล้วให้นักศึกษาวาดรูปนี้ให้เหมือนที่สุด พร้อมเขียนบรรยายว่าเห็นอะไรในภาพ
                    
รูปดอกบัว
รูปวาดของฉัน

หลังจากนั้นอาจารย์ก็เข้าสู่บทเรียนในวันนี้

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
1.ครูไม่ควรวินิจฉัย
2.ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
3.ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
ครูไม่ควรวินิจฉัย คือ ครูไม่ควรตัดสินใจจากการดูอาการหรือสัญญาณบางอย่าง ที่เด็กได้แสดงออกมา ว่าเด็กแสดงอาการแบบนี้แล้วเด็กต้องเป็นเด็กพิเศษ
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก คือ ครูไม่ควรตั้งชื่อสมมุติหรือฉายาให้เด็ก การที่ครูตั้งชื่อสมมุติหรือฉายาแล้วนำไปเรียกเด็กคนนั้น เพื่อนๆเห็นครูเรียกเพื่อนๆก็จะเรียกตามครู ซึ่งจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีต่อตัวเด็กที่ถูกตั้งฉายา
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ คือ ครูไม่ควรนำเรื่องที่เด็กแสดงอาการบางอย่างหรือสิ่งที่เด็กไม่สามารถทำได้ไปเล่าให้พ่อแม่ของเด็กพิเศษรับรู้ เพราะว่าพ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักจะทราบอยู่แล้วว่าลูกของเขามีปัญหาด้านอะไรบ้าง ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นครูควรจะพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวกมากกว่าด้านลบ ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้ ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง
                  ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
                  ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย (ครูต้องมีวิธีในการพูดที่ดี)
                  สังเกตเด็กอย่างมีระบบ (มีการจดบันทึก) ครูประจำชั้นจะเป็นคนสังเกตเด็กแบบระบบได้ดีที่สุด เพราะว่าครูอยู่ใกล้ชิดกับเด็กตลอด ครูได้เห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า ซึ่งต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
                  จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
                  ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
                  ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
                  พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต
1.การนับอย่างง่ายๆ
2.การบันทึกต่อเนื่อง
3.การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การนับอย่างง่ายๆ คือ การที่ครูนับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม เกิดกี่ครั้งในแต่ละวัน เกิดกี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง และระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรมของเด็ก

การบันทึกต่อเนื่อง คือ เป็นการบันทึกที่ดีที่สุด เป็นการบันทึกที่ให้รายละเอียดได้มากที่สุด เพราะว่าครูจะเขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่งหรือช่วงกิจกรรมหนึ่งซึ่งจะเขียนบันทึกทุกสิ่งทุกอย่างทุกการกระทำของเด็กลงไปแม้กระทั้งคำพูดของเด็ก เวลาบันทึกครูไม่ควรใส่ความรู้สึกของตนเองลงไปด้วย
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง คือ เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง บันทึกลงบัตรเล็กๆ

การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
                  ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดของความบกพร่อง
                  พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ เช่น ดูดนิ้ว กัดเล็บ

การตัดสินใจ คือ ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง พฤติกรรมบางอย่างของเด็กที่เกิดขึ้นนั้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

     หลังจากเรียนเนื้อหาจบแล้วอาจารย์ก็สอนร้องเพลงต่อ
เพลงที่อาจารย์สอน


     หลังจากร้องเพลงเสร็จอาจารย์ก็ให้นำรูปดอกบัวที่นักศึกษาทุกคนวาดมาเฉลยในการเขียนบรรยายจากสิ่งที่เห็น ซึ่งอาจารย์ได้สอนว่าการเขียนบรรยายรูปดอกบัวก็เหมือนการบันทึกต่อเนื่องนั้นเอง เช่น ดอกบัวมีกลีบ 14 กลีบ มีสีม่วง สีชมพู และสีขาว มีเกสรสีเหลือง มีจุดตรงกลาง มีก้านสีเขียว อยู่ใต้น้ำ เป็นต้น ซึ่งเป็นการเขียนจากสิ่งที่เห็นไม่มีความรู้สึกของตนเองลงไปด้วย หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้ตอบคำถามหลังเรียน 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น