วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 9

ครั้งที่ 9
บันทึก สัปดาห์ที่ 10
       วิชา : การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
       อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
       วัน/เดือน/ปี : 09 มีนาคม พ.ศ.2558
       กลุ่มเรียน : 104 (วันจันทร์ : บ่าย)
       เวลาเข้าเรียน 12:20-15:50 ห้องเรียน : 435


ชั่วโมงที่ 10 ของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้เรียนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ก่อนเริ่มสู่บทเรียนอาจารย์ได้เปิดรูปภาพ เที่ยวทุ่งหญ้าซาวันน่า

เที่ยวทุ่งหญ้าซาวันน่า

และอาจารย์ได้ให้คำถามว่า เมื่อนักศึกษาเห็นรูปสิงโตกำลังกินเนื้อรู้สึกอย่างไร ฉันได้ตอบไปว่า น่ากลัวจัง หนีกันเถอะ

จากนั้นอาจารย์ได้เปิดโทรทัศน์ครูเรื่อง ผลิบานผ่านมือครู " จังหวะกาย  จังหวะชีวิต"


การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ
2. ทักษะภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา
-         เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-         ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-         ถามหาสิ่งต่างๆ ไหม
-         บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นไหม
-         ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
-         การพูดตกหล่น
-         การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
-         ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
-         ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
-         ห้ามบอกเด็กว่า  "พูดช้าๆ"  "ตามสบาย"  "คิดก่อนพูด"
-         อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
-         อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
-         ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
-         เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
-         ทักษะการรับรู้ภาษา
-         การแสดงออกทางภาษา
-         การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา 
พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
-         การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-         ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-         ให้เวลาเด็กได้พูด
-         คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
-         เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
-         เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
-         ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
-         กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
-         เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
-         ใช้คำถามปลายเปิด
-         เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
-         ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

การสอนตามเหตุการณ์  (Incidentel  Teaching)
          เป็นการสอนตามสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เช่น เด็กไม่สามารผูกผ้ากันเปื้อนเองได้ เมื่อครูเห็นให้ครูเดินเข้าไปใกล้ๆก่อน ถ้าเด็กยังไม่ถามหรือเอยปากขอร้องให้ช่วย ครูต้องใช้วิธีบอกบทให้กับเด็ก เช่น หนูจะผูกผ้ากันเปื้อนใช่ไหม แล้วให้เด็กพูดตามว่าผูกผ้ากันเปื้อน ครูจะผูกให้เด็กก็ต่อเมื่อเด็กพูดตามว่าผ้ากันเปื้อนก่อน 

จากนั้นอาจารย์ให้ทำกิจกรรมจับคู่เพื่อวาดรูปภาพโดยใช้สีเทียนคนละสี วาดเส้นตรง ห้ามโค้ง ให้เส้นทับกันเยอะๆ และอาจารย์ก็ได้บอกว่ารูปภาพที่เพื่อนๆวาดนั้นสามารถบอกว่าเพื่อนนั้นเป็นยังไง 
(ผลงานของฉันกับเพื่อน)
(ผลงานของเพื่อนๆในห้อง)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น